วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเพณีลาซัง คืออะไร

 







   ประเพณีลาซัง-โต๊ะชุมพุก (ปูยอมือแน) นิยมทำกันในเดือน ๕ หรือ ๖ ของทุกปี ตามความเชื่อของชาวบ้าน คำว่า "ลาซัง" หมายความว่า การอำลาซังข้าว ซึ่งจะทำเมื่อเสร็จฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวของชาวบ้าน และจะเลือกวันที่เป็นวันมงคลที่เหมาะ กับการจัดพิธีเป็นพิธีกรรมที่ทำขึ้นเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ชาวนาสนุกสนานหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำนามาทั้งปีและเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจที่จะไถหว่านในปีต่อไป เมื่อเสร็จสิ้นจากการเก็บเกี่ยวในรอบปี
     เมื่อเสร็จสิ้นจากการเก็บเกี่ยวในรอบปี ในกรณีที่ร่วมกันหลายหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้านจะหารือกำหนดวันทำพิธี เมื่อใกล้ถึงวันทำพิธีชาวบ้านก็จะนำเอาฟางจากที่นาของตนมาคนละกำมือนำมามัดรวมกันเป็นหุ่น(โต๊ะชุมพุก) จึงเป็นที่มาของคำว่า "โต๊ะชุมพุก" 
     หุ่นผู้ชายคือเจ้าบ่าว หุ่นผู้หญิงคือเจ้าสาว ชายชื่อ ชุมพุก หญิงชื่อ สุนทรี พอถึงวันกำหนดนัดหมายทุกคนในหมู่บ้านจะแต่งกายด้วยชุดที่สวยงามเหมือนการแห่ ขันหมากไปแต่งงาน มีผู้ถือขันหมาก ชุดกลองยาว คนรำนำขบวนแห่และผู้ร่วมขบวนตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่แต่ในขันหมาก แทนที่จะเป็นพลูก็เป็นรวงข้าวที่จะนำไปทำพิธีทำขวัญข้าวเก็บไว้ในยุ้งฉาง เมื่อถึงสถานที่นัดหมาย ก็จะนำหุ่นโต๊ะชุมพุกทั้งหมดมาหาคู่ว่า หุ่นผู้ชายหมู่บ้านใดจะได้คู่แต่งงานกับหุ่นเจ้าสาวของหมู่บ้านใดโดยการหยิบ ฉลากจากประธานจัดงานเมื่อได้คู่แล้วเริ่มแต่งงานเหมือนพิธีแต่งงานของคนโดยทั่วไป โดยจะมีพระมาสวดอวยพร มีหมอขวัญมาทำพิธีแต่งงานกัน หลังจากได้คู่แล้วชาวบ้านในหมู่บ้าน เจ้าของหุ่นก็ได้เป็นญาติเกี่ยวดองกัน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นอีกทางหนึ่ง หากกระทำกันเฉพาะภายในหมู่บ้านก็เหมือนกัน ต่างกันแค่เพียงแต่จะมีหุ่นผู้ชาย(เจ้าบ่าว) และหุ่นผู้หญิง(เจ้าสาว) เพียง ๑ คู่เท่านั้น  เหตุที่นำหุ่นฟางมาแต่งงานกันเพราะเชื่อว่าต้นข้าว เม็ดข้าวมีบุญคุณเลี้ยงเรามาและเป็นการอำลาต้นข้าวก่อนที่ตอข้าวจะถูกไถกลบ สำหรับการหว่านทำนาในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่และการจัดการแต่งงานของโต๊ะชุมพุก ชาวบ้านมีความเชื่อว่าจะทำให้ มีลูกเกิดมาเป็นเม็ดข้าวจำนวนมากมายภายใน ภายในปีต่อไป
     ปัจจุบันลาซัง-โต๊ะชุมพุก ยังมีให้เห็นที่ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี นับว่าเป็นประเพณีปฏิบัติที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมได้เห็นการทำงานร่วมกันของ คนในท้องถิ่นที่เปี่ยมไปด้วยไปด้วยความสมัครสมานสามัคคี ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของชุมชนภายในตำบล และที่สำคัญที่สุดคือ ความเป็นยอดแห่งความกตัญญูกตเวที ที่มีพระแม่โพสพซึ่งเป็นเทพแห่งข้าว ความหมายของคำว่า "โต๊ะชุมพุก" ดังนี้ โต๊ะ คือ คำพูดพื้นบ้านที่เขาเรียก ผู้เฒ่าผู้แก่ ชุม คือ การที่นำเอาไม้ไผ่ - ซังข้าว - เชือก - กระดาษ มาผูกรวมกัน พุก คือ เมื่อเสร็จพิธีทุกอย่างแล้วก็เอารูปหุ่นไปโยนทิ้ง ที่สุดก็ผุพังไป








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น